30 สิงหาคม 2555

เลื่อย ....กับงานทำไวโอลิน

จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นเลื่อยที่ผมมีไว้ใช้งานมากกว่า  บางอัน(ปื้น) ก็ไม่ค่อยได้ใช้งานซักเท่าไหร่  แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากลอง  ตามประสานของคนที่มีประสบการณ์น้อย(ไม่มีประสบการณ์มากกว่า) ขอเริ่มเลยดีกว่า 


อันแรกเลื่อยลันดา เป็นเลื่อยพื้นฐานของช่างไม้ 



ตัวนี้เป็นเลื่อยญี่ปุ่น (backstroke saw ) ผมชอบมากใช้งานได้สารพัด คลองเลื่อยบางคมเลื่อยจะมาในจังหวะดึงกลับ เลยได้ชื่อภาษาอังกฤษแบบนั้น



อันนี้แปลกดีซื้อมาลองใช้งาน ใช้งานได้คล้ายเลื่อยลันดา แต่สั้นกว่า  ฟันเลื่อยบริเวณหัวใช้ตัดฝ้าเพดานได้



เลื่อยเหล็ก มีไว้ตัดเหล็กในท้องตลาดที่มีขายราคาไม่แพง ใบเลื่อยมีส่วนสำคัญมากดีไม่ดีอยู่ที่ใบเลื่อย  ส่วนของผมโครงเลื่อยเป็นของเก่ายี่ห้อดังจากอังกฤษ 



เลื่อยตัวนี้เป็นเครื่องมือสำคัญต้องมีเลย โครงเลื่อยดีดี ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เคยซื้อแบบถูกๆ สุดท้ายต้องหาใหม่มาได้ตัวนี้เป็นของสแตนลีย์ คุณภาพดีครับ



ฝรั่งเรียกตัวนี้ว่า Coping saw สามารถตัดเข้าไปในที่แคบๆ ได้สบาย



เลื่อยฉลุ ใช้ตอนเจาะช่องเสียง



อันนี้ผมไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ เลื่อยปังตอ ไว้ตัดหัวไม้



เลื่อยหางหนู ตั้งใจว่าจะเอามาตัดไม้ให้เป็นตามแนวโค้ง แต่สุดท้ายก็มาจบที่ Coping saw ตัวนี้เลยไม่ได้ใช้อีก


7 สิงหาคม 2555

ไสขึ้นรูปไวโอลิน ด้านนอก

การไสขึ้นรูป ไวโอลิน


ไม้เมเปิลชิ้นเดียว  ตัดเป็นรูปทรงไวโอลิน 


ความหนา เกือบ 3 ซ.ม.


ใช้สิ่วโค้งสกัดไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออก


อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอด เล็กน้อยไม่เป็นไร


เอาไม้ส่วนขอบออกไปก่อน


ใช้สิ่ว ฆ้อนพลาสติกช่วยผ่อนแรง


บริเวณขอบจะถูกสกัด  ตอนนี้ขอซีกในก่อน


กลับด้านมาสกัดด้านนี้บ้าง


ไม่ได้สนใจแนวเสี้ยนไม้เท่าไหร่  


บางครั้งก็สกัดแบบย้อนเสี้ยน ออกมาเป็นชิ้นๆ เลย


การขุด ไสย้อนเสี้ยนจะไม่ทำเมื่อไม้บางลง  ถึงระดับหนึ่ง


ใช้กบท้องเรือไสบริเวณขอบด้านล่าง


ที่เหลือบริเวณด้านบน


สกัดด้วยสิ่วโค้ง ขวางแนวเสี้ยนไม้


บริเวณโซนกลางจะยังสูงอยู่  ค่อยมาไสปรับทีหลัง


กบตัวเก่ง  ไสปรับรูปร่าง และให้ไม้บางลง


เครื่องมือที่ใช้วัดความสูงของแผ่นไม้  วัดที่กลางแผ่นจุดสูงสุด


กบผีเสื้อไสปรับให้เรียบในตอนท้าย


ได้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ