30 มิถุนายน 2555

โครงสร้างภายใน

Lining


หลังจากที่เราได้ทำโครงข้าง Rib ประกอบเข้ากับโมลเรียบร้อยแล้ว  ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการใส่ lining ซึ่งก็คือการเสริมไม้ชิ้นเล็กๆ บางๆ ตลอดแนวด้านใน อันนี้เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับโครงด้านข้าง  รักษารูปทรงไม่บิดเบี้ยว แล้วช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับแผ่นหน้า หรือแผ่นหลังตอนติดกาว

การใส่เส้น lining จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องทำบล็อคให้ด้านหนึ่งเรียบ ส่วนอีกด้านจะสูงกว่า  คือเหลือพื้นที่ไว้สำหรับติด lining นั่นเอง  อธิบายแล้วยิ่งงงหรือเปล่าก็ไม่รู้ .............


หลังจากที่ได้โครงข้างรูปทรงออกมาแล้ว  ขั้นต่อไปเป็นการสร้างแผ่นหน้าหรือหลัง  อย่างในภาพผมเลือกที่จะทำแผ่นหน้าก่อน  ซึ่งหลังจากที่ทำแผ่นหน้าเสร็จก็จะนำมาติดตั้งไปบนโครงข้างที่เตรียมไว้แล้ว (พูดง่ายๆ ก็คือทากาวแล้วปะลงไปนั่นเอง)


กระบวนการไสทำแผ่นหน้า ต้องใช้เวลาพอสมควร  กว่าจะได้มาเสียเหงื่อไปหลายหยดทีเดียว


แผ่นหน้าหรือ sound board จะนำไปติดตั้งกับโครงข้างรอจนแห้งสนิทแล้วกลับด้าน  จากนั้นทำการถอดโมลออกก็เป็นอันหมดหน้าที่ของโมล


โมลที่ถูกถอดออกมาก็เก็บไว้ใช้ทำต่อตัวต่อไปได้  จนกว่ามันจะหมดสภาพไป  ตัวนี้เป็นสภาพภายในของไวโอลิน ลูกแปลก ซึ่งบริเวณด้านในจะติดตั้งแท่งไม้อีกชิ้นไว้  ทอดแนวตามสาย G  แท่งไม้ชิ้นนี้เรียกว่า เบสบาร์ (bass bar)

2 ความคิดเห็น:

  1. พี่ครับผมอยากรู้วิธีการเปิดไม้หน้าไวโอลินอ่าครับ พยายามหาเท่าไหร่ก็ไม่มีใครบอกอ่าครับ พี่ช่วยบอกผมหน่อยได้ไหมครับ ผมไม่รู้จะหาวิธีจากไหนแล้วครับ พี่มีเบอร์หรืออีเมล์หรืออะไรที่ผมพอจะติดต่อได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  2. ยินดีต้อนรับครับคุณมรุต เรื่องการเปิดแผ่นหน้าเป็นอะไรที่ต้องใช้ความชำนาญและระมัดระวังอย่างมาก ไม่เช่นนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับไวโอลินยิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้ไม่มีอะไรมากประยุกต์เอา หรือหาจากในครัวก็ได้ ก็คือมีดเล่มบางๆ 1 เล่ม และคนที่จะเปิด ฝรั่งเขาจะเอาหมอนหรือผ้านุ่มๆ รอง ค่อยๆ แซะเปิดจากล่างขึ้นไป จะยากที่สุดก็ที่บล็อคใหญ่ตัวบนที่ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย ต้องระวังเรื่องไม้แตก เดี๋ยวจะงานเข้าจ้ะ

    ติดต่อผมได้ที่ paiisitt@gmail.com หรือถ้ามีอะไรสงสัยคุยกันผมได้ที่เบอร์ 081-8994514 ครับ

    ตอบลบ