30 สิงหาคม 2556

Ideal ........ไวโอลินที่คิดฝัน

Ideal ....ในอุดมคติ


ผมห่างหายไปนานไม่ได้เข้ามาเขียนบอกเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้าง   แต่ก็ยังดีใจที่ดูจากยอดผู้เข้ามาเยี่ยมชม ก็ยังมีมาต่อเนื่องสม่ำเสมอ  เรียกว่าพอจะมีสาระให้ได้เรียนรู้กันบ้าง

ผมเคยคิดฝันไว้ว่าอยากจะทำไวโอลินซักตัว  ที่มันก้า่วข้ามกรอบข้อจำกัด  จะเรียกว่าทฤษฎีหรืออะไรก็แล้วแต่  ค่อยๆ ก้าวมาที่ละขั้ินทีละตอน  จากไวโอลินแบบดั้งเดิมที่ผมทำมาเยอะพอสมควรแล้ว   ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่า  เป็นรูปแบบของไวโอลินที่มีความงดงามและจะยังคงอยู่สืบต่อไปอีกนานเท่านาน ผมอยากจะใช้คำว่า  "เพราะสิ่งนั้นมี  สิ่งนี้จึงมีได้"   เลยทำให้เกิดเรื่องราวนี้ขึ้น

ไวโอลินตัวที่ผมจะทำจะว่าแปลก ก็ว่าแปลก  แต่สิ่งที่ผมตั้งใจก็คืออยากจะทำสิ่งที่คิดฝันไว้ในสมองให้ออกมาเป็นรูปธรรม  จับต้องได้  ไม่อยากให้มันเป็นเพียงแค่ความคิดฝันที่เลื่อนลอย  ปล่อยให้มันผ่านไปแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย

Base from Antique Violin


เป็นไวโอลินที่เก่า  เก่าเอามากๆ เลย  สภาพก็แย่มาก เรียกว่าเกินกว่าที่คิดไว้เยอะเลย  ชิ้นส่วนก็ไม่ครบ  แผ่นหน้าแตก  ขอบบุบ บิ่น กาวเสื่อม พร้อมที่จะหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ ได้ตลอดเวลา  


ลองมาดู ศึกษาไวโอลินเก่าตัวนี้ดูว่ามีอะไรให้เราได้เรียนรู้บ้าง
กระบวนการ  ขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผมได้คิดวางแผนไว้ก่อนกลัวพลาด  ตามไปดูกัน


แผ่นหน้าแตก  รองคางหายไป ที่ขอบเป็นสีดำ.....เพื่ออะไร



พร้อมที่หลุดได้เป็นชิ้นๆ เพราะกาวเสื่อม  แล้วฟิงเกอร์บอร์ดหายไปไหน ?


ตัวโครงมันหลุดเป็นชิ้น แผ่นหน้าเส้นไม่สวย ใหญ่และคดโค้ง


ตรงนี้น่าสนใจครับ Saddle ทำจากแผ่นเหล็ก  แต่มันก็ทำหน้าที่ได้ดี ป้องกันแผ่นหน้าไม่ให้ยุบตัวจากเอ็นยึดหางปลา  ปุ่มท้ายนั่นก็แตก ...แต่ก็ยังใช้งานได้นะ


แผ่นหน้าแตกยาวเลย  และที่ขอบไม่ได้ฝัง Purfling ไว้ ทำให้แตกได้ง่ายกว่า ทำขอบดำไว้เพราะเหตุนี้


เปิดแผ่นหน้าออก  มาดูภายในกันบ้างว่าชัดๆ เป็นอย่างไง


บล็อคตัวล่างยาวกว่าปกติ แต่ก็ไม่ไ้ด้มีปัญหาอะไร จะได้แน่นดี ตรงกลางมีรอยแยกออก 


บล็อคด้านข้างไม่มี พอกาวเสื่อมก็เลยหลุดออกได้ง่ายกว่า


ร่องรอยของป้ายที่เหลืออยู่ แต่ตัวป้ายหาำยไปไหนไม่รู้  เลยไม่ทราบที่มาที่ไป หรือใครเป็นคนทำเลย


Sound post  เหลาไม่ค่อยตรงไม่ค่อยกลมเท่าไหร่  ที่แปลกมันมีเชือกผูกไว้ด้วย  เขาทำอะไรกับมัน?


ที่ด้านข้างถูกเจาะรูไว้ด้วย  หรือเขาทำมาเพื่องานนี้นะ  ..... sound post ล้มหรือ


อะไรเนี่ยะ


ด้านในของแผ่นหน้า  ที่เราคงไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นกันบ่อยนัก...มันควรเป็นอย่างนี้ไม๊




ไม้ที่ดูนูนขึ้นมาเขาคงจะทำมันให้เป็น เบสบาร์  ถ้าเป็นหัวข้อเก่าที่เคยเขียนผมจะเรียกว่า เบสบาร์แบบ
บิวท์อิน




สีดำๆ คือคราบกาว  ส่วนแผ่นไม้มาเสริมรองเอาไว้  ทำมาไม่พอดี กับบล็อคตัวบน ....แล้วเพราะอะไร?



คอเอียงเบี้ยวอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ใช้งานมาได้แสนนาน ลูกบิดแตก สึก รูลูกบิดในสภาพแย่



ถอดคอออก  ผมตัดสินใจไม่ใช้คอเดิม คงต้องทำคอขึ้นมาใหม่น่าจะดีกว่า


ฐานคอกับบล็อคตัวบนเป็นไม้ชิ้นเดียวกัน  ส่วนร่องที่เห็นเป็นส่วนที่ให้ Rib เสียบยึดเอาไว้ 


แต่ด้วยความที่ส่วนสูงของไม้มันสั้นกว่าความสูงของ Rib เลยต้องเสริมไม้ไว้ที่แผ่นหน้า เพื่อให้เรียบพอดีกัน

Make a new soundboard

ไวโอลินตัวใหม่นี้จะถูกสร้างขึ้นใหม่บนพื้นฐานของไวโอลินเก่าโบราณ โดยมี 2 ชิ้นส่วนเดิมเป็นหลัก คือ โครงด้านข้าง กับแผ่นหลัง  ที่เหลือจะเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ โดยผมเริ่มต้นจากแผ่นหน้าก่อน  แล้วก็ตามด้วยทำคอใส่เข้าไปใหม่  ส่วนไวโอลินเก่าตัวนี้ที่ผมอยากได้จริงๆ มันก็คือแผ่นหลังของมันชอบนี่แหละ ส่วนอื่นๆ ก็เลยไม่ค่อยได้ใส่ใจมันซักเท่้าไหร่


























บทสรุปส่งท้าย

 กว่าที่ผมจะจัดการจนแล้วก็ใช้เวลาอยู่พอสมควร เรียกว่าทำไปก็คิดไปด้วย ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการปรับตั้งหรือ set up ผมใช้เวลาอยู่นานมากทีเดียว  ปรับหย่องอยู่หลายสิบเที่ยว โดยใช้หย่อง 2 ตัว 2 สไตล์ สุดท้ายมาจบที่ตัวนี้ สาย A เป็นสายที่มีปัญหา เสียงมันไม่เข้าพวก จนสายขาดไป 2 เส้น ส่วนเส้นที่ใส่อยู่ก็ไม่สมบูรณ์นักแต่ก็ถือว่าใช้ได้ ตำแหน่งที่ตั้งหย่องในเบื้องต้นผมตั้งใจทำไว้ที่ระยะ 33 ซ.ม.  แต่สุดท้ายต้องเลื่อนไปใช้ที่ตำแหน่ง 32.5 ซ.ม  มันให้น้ำเสียงที่มีความสมดุลที่ดีกว่า



แม้มันจะไม่สมบูรณ์ซะทีเดียวในครั้งแรก  แต่มันก็ทำให้รู้ว่ามันมีความเป็นไปได้  และทราบผลลัพท์ที่ได้ออกมาเป็นอย่างไร  แนวคิดจากการที่ได้ลงมือทำ ...ซึ่งมากกว่าความเข้าใจ  เพราะมันเอาดัดแปลงพลิกแพลงต่อได้  สมองมันคิดไปเลยว่า ถ้าอย่างนี้ทำได้  แบบนี้ก็ต้องทำได้สิ คิดเลยไปโน่นอีก เฮ้อ.....





14 มีนาคม 2556

การเพลาะไม้ไวโอลิน

การเพลาะไม้ ( Edge Joint )



การเอาไม้มาติดกันแล้วได้ไม้หน้ากว้างขึ้นเรียกว่า การเพลาะไม้  แต่ถ้าเอาไม้มาติดกันแล้วได้ไม้ที่ยาวขึ้นเรียกว่า การต่อไม้ ซึ่งจะใช้ในการก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน ต่อเสา ต่อคาน เป็นต้น  ส่วนเทคนิคสุดท้าย คือการเข้าไม้  เป็นการเอาไม้มาต่อกันเป็นมุมต่างๆ  นิยมใช้กับเครื่องเรือน การทำโต๊ะ เก้าอี้  เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ  
 ทำไมต้องเพลาะไม้........ ตอบง่ายๆ ตรงๆ ก็คือไม้มันกว้างไม่พอเลยต้องเอาไม้มาต่อกันให้ได้ความกว้างตามที่ต้องการ  ส่วนวิธีการการเพลาะไม้ ที่นิยมกันจำแนกได้ วิธี ด้วยกัน
1.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาว  ( glued and rubbed joint)
2.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับเดือยไม้ ( glued and dowelled joint)
3.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการบังใบ ( glued and rabbeted joint)
4.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับรางลิ้น ( glued and tongued or grooved joint )
5.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับการสอดลิ้น ( glued and tongued or feathered joint)
6.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปูเกลียว ( glued and wood screws)
7.      การเพลาะไม้ด้วยการใช้กาวร่วมกับตะปู ( glued and nail joint)

การทำไวโอลินะใช้เทคนิคในการเพลาะไม้ ในแบบที่ 1 คือใช้กาวในการยึดประสานไม้ให้ติดกันเท่านั้น ไม่มีเดือย ไม่มีตะปู หรือการเข้าลิ้นแต่อย่างใด  


 
ก    การเพลาะไม้ ไวโอลินใช้เทคนิคเดียวกัน ทั้งกับแผ่นหน้าและแผ่นหลัง  แต่แผ่นหลังอาจจะมีข้อยกเว้นบ้างในกรณีที่ใช้ไม้เมเปิลหน้ากว้างซัก 9 นิ้ว ขึ้นไป ก็ทำเป็นแผ่นหลังชิ้นเดียว  ง่ายสำหรับช่างขึ้นอีกหน่อยแต่ไม้ก็หายากและแพงกว่า  สำหรับแผ่นหน้าเป็นไม้สปรูซ เป็นไม้ที่ใช้เทคนิคการตัดมาแบบ Quarter sawn ผมจะเรียกว่า การตัดแบบเค็ก  เพราะเข้าใจง่ายดี 



     ไม้สนเมื่อตัดออกมาแบบเค็ก เราจะเห็นลวดลายของไม้เป็นเส้นวงปี เป็นเส้นตรงยาว การเรียงตัวของเส้นวงปี ด้านในแกนกลางจะห่าง ค่อยๆ ไล่มาด้านนอกที่มีความถี่มากกว่า (ส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนี้) ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสวยงาม สมดุล และการคาดหวังในคุณสมบัติด้านเสียง จึงต้องใช้เป็นไม้ 2 ชิ้นมาเพลาะต่อกัน 

ไม้สปรูซหน้ากว้างประมาณ 4.5 นิ้ว ด้านนอกลายจะห่างกว่า

      การเพลาะไม้ไวโอลิน จะใช้ส่วนที่อยู่ด้านนอกของต้นที่มีเส้นวงปีละเอียดมาต่อกัน และค่อยๆ ใหญ่ขึ้นไปสุดที่ขอบ  ส่วนที่กว้างที่สุดของไวโอลิน จะอยู่ที่ประมาณ 8 นิ้ว 2 หุน  


      ส่วนเทคนิคในการเพลาะไม้ อธิบายได้สั้นๆ คือทำให้บริเวณที่จะต่อกันทั้ง 2 แผ่นเรียบและได้ฉาก เวลาประกบกันให้เรียบเนียนสนิท เครื่องมือที่ใช้ก็ต้องมีกบไสไม้ เอฟแค็มป์ และมีกาวเป็นตัวประสานเท่านั้น  เมื่อทุกอย่างได้ที่แล้ว ก็ทากาวบริเวณรอยต่อทั้ง 2 แผ่น ใช้เอฟแค็มป์ บีบจับไว้รอกาวแห้ง 24 ชั่วโมง ก็เป็นใช้ได้


ทดสอบประกบดู บริเวณรอยต่อต้องเรียบเนียนสนิท

      สำหรับไวโอลิน การเลือกใช้ไม้ที่มาเพลาะต่อกันจะใช้ไม้ในช่วงลำต้นที่ระยะเดียวกัน  ซึ่งจะทำให้ลายไม้ที่ได้ที้งซีกซ้ายและขวา มีลายที่สมมาตรใกล้เคียงกัน ทำให้หน้าไม้ที่ออกมาสวยงาม จะไม่นิยมใช้วิธีใช้ไม้แผ่นเดียวกัน (ยาวซัก 30 นิ้ว) มาตัดครึ่งแล้วมาเพลาะต่อกัน โอกาสที่จะได้ลายที่สวยสมดุลเป็นเรื่องยาก


       จะว่าไปดูแล้วก็ง่ายๆ แต่กว่าผมจะทำได้ก็ใช้เวลาฝึกฝนพอสมควรทีเดียว ประเด็นหลักของการเพลาะไม้อยู่ที่การทำให้หน้าสัมผัสของไม้ทั้ง 2 แผ่นเรียบ ที่เหลือก็ไม่มีอะไรยาก แค่ทากาว แล้วใช้แค็มป์จับเช็ดกาวที่เกินออก แล้วรอเวลาให้กาวแห้งสนิท 

       

        การเพลาะไม้ในลักษณะนี้ทำให้ซีกซ้ายและขวา เสี้ยนไม้มันจะไปกันคนละทาง ย้อนกันอยู๋  การไสขึ้นรูปก็ต้องอาศัยเทคนิคไสพลิกไปพลิกมา  อันนี้แล้วแต่เทคนิคกับเครื่องมือที่ช่างใช้


     เมื่อกาวแห้งแล้วก็จะได้ไม้หน้ากว้างตามต้องการดูแล้วเหมือนเหมือนไม้แผ่นเดียว  จากนั้นก็เอาไสปรับอีกครั้งให้เรียบเนียน พร้อมส่งต่อสำหรับงานขั้นต่อไปครับ