30 กรกฎาคม 2557

ไวโอลินต่อหัว

ก่อนอื่นก็สวัสดีเพื่อนๆ ที่รักทุกคน  ผมได้ห่างหายไปพอสมควร สาเหตุส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการเจ็บป่วยของร่ายกาย แขนขวามีอาการไหล่ติด ยกไม่ขึ้นเจ็บปวดร้าวไปทั้งสะบัก  ตอนนี้อาการดีขึ้นบ้างแล้ว ตั้งใจว่าจะพยายามรักษาตัวให้หายในสิ้นปีนี้  


วันนี้ผมอยากจะกล่าวถึงไวโอลินตัวหนึ่ง  ตามหัวเรื่องที่ว่าไว้ ไวโอลินต่อหัว  มันมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วทำไมถึงได้สนใจเรื่องนี้  ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมของไวโอลินคันนี้


ซึ่งเจ้าของคุณแซม  ให้แก้ไขปัญหาแตก ทั้งหน้าทั้งหลัง  เท่าที่ดูเขาผ่านการซ่อมมาแล้วอย่างน้อยก็ 2 ครั้ง  ผมว่าเขาสวยดีแผ่นหลังชิ้นเดียว  มีรอยแตกยาว  แผ่นหน้าแตกค่อนข้างเยอะ 
มีหมุดฝังไว้ด้วย  ช่วยยึดไว้เวลาติดกาว  เปิดแผ่นหน้าขึ้นมาปรากฏว่ามี 3 ป้าย ติดอยู่ที่แผ่นหลัง  บอกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไวโอลินคันนี้ แผ่นหลังเขาขุดไสมาเรียบร้อยดี  จุดหนึ่งที่สังเกตุได้คือ บล็อคไม่เต็ม ไม่มีบล็อคด้านบนของโค้งตัวซี ซ้ายขวา  มีรอยแตกด้านใน ชมตามภาพแล้วกันนะครับ





บล็อคที่หายไป




Johann_Baptist_von Schweitzer  ภาพจาก Wikipedia





ส่วนของแผ่นหน้าจะมีรอยแตกมากกว่า  ปัจจัยข้อหนึ่งก็คือลักษณะของเนื้อไม้  แผ่นหน้าเป็นไม้สปรูซซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน  และการตัดไม้แบบเค็ก ตามที่ผมเคยเรียก ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีโอกาสแตกได้ง่ายกว่าและหนักกว่าแผ่นหลังมาก  ที่สำคัญคือมีรอยแตกร้าวมาถึงเบสบาร์ซึ่งต้องจัดการให้ดี  เนื้อไม้บางส่วนหายไป มีการซ่อมปะไว้  แต่ภายในดูไม่ดีนักเป็นจุดตั้งซาวด์โพสพอดีด้วย 












จัดการซ่อม










ทำไมต้องต่อห้ว

ดูเผินๆ ถ้าไม่ได้สังเกตุอะไรก็ดูเหมือนหัวไวโอลินธรรมดาทั่วไป  แต่มองให้ดีเราจะเห็นบริเวณฐานคอจะมีรอยต่ออยู่  หรือว่าไวโอลินคันนี้มันได้ซ่อมเปลี่ยนหัวมาแล้ว  คุณแซมบอกว่ามันเป็นอย่างนี้ของมัน ไม่ได้ซ่อมอะไร  

แล้วทำไมเขาต้องทำให้มันยุ่งยากอย่างนี้ล่ะ  หลายๆ ท่านคงสงสัย ?



ตัดเป็นแนวฉาก  เพิ่มแรงยึดจับ

จุดที่ตัด ตรงแนวขอบของนัทพอดี

คำตอบในทัศนะของผม  มันเป็นเรื่องของกระบวนการหรือวิธีการการผลิตของช่างซึ่งอาจจะแตกต่างกันไป  ช่างท่านนี้เขาอาจจะรู้สึกว่าขุดโพรงลูกบิด (pegbox) แบบเดิมๆ ที่ใช้สิ่วขุด เซาะ เจาะลงไปมันไม่ถนัด ยุ่งยากก็ลองวิธีอื่นดู เลยตัดมันออกมาเลยจะได้ขุด เจาะ เซาะให้ถนัดมือ แล้วค่อยประกอบเข้าไปใหม่ตามรอยเดิม แค่นี้ก็สิ้นเรื่อง  แต่ก็มีเทคนิคในการตัดด้วย คือตัดเป็นแนวตั้งฉากเพื่อเพิ่มแรงยึดจับ และเพิ่มหน้าสัมผัสการติดกาวด้วย แข็งแรงกว่าการตัดตรงมาก  


บทเรียนทีี่ได้คือ ทำให้รู้ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกไม่มีอะไรที่ผิด หรือถูกเสมอไป  สะท้อนได้แม้แต่การทำไวโอลิน ไม่ได้จำเป็นเสมอไปว่า  ต้องทำแบบนี้เท่านั้นถึงจะถูก หรือถ้าไม่ทำแบบนี้คือผิด  .....ช่างท่านนี้เขาคงทำแบบนี้จนคุ้นเคย  จนถนัดกลายเป็นความเชี่ยวชาญ   วิธีแบบเดิมคงกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับเขา....

1 ความคิดเห็น:

  1. Biography of Johann Baptist Schweitzer
    The Brompton’s Book of Violin & Bow Makers
    Author: John Dilworth
    SCHWEITZER, Johann Baptist Born 1790 Pécs, died 1865 Budapest Hungary. Pupil of F. Geissenhof in Vienna. Active in Pécs from 1822 and established in Budapest by the following year. One of the first makers, like Pressenda in Turin, to adopt the Stradivari model over the Stainer, and to attempt closer emulation of the Cremonese masters. Very influential on the work of all the central European and German schools in the nineteenth century, but this has led to numerous fakes being made in the larger German workshops. Pupils and assistants include many important makers of the subsequent generation: G. Lemböck, A. Sitt, J. B. Dvorák, S. Nemessányi and his eventual successor T. Zach. Very fine work

    ตอบลบ