26 สิงหาคม 2557

ไวโอลินชื่อ .....Nicolus

Nicolus  Lupot


เรื่องนี้ผมใช้เวลาในการเขียนนานหน่อย  ปัญหาจากคอมพิวเตอร์ออกอาการเกเร แฮงค์ตลอด  สงสัยว่าอาจจะติดเชื้อทางอิเล็คโทรนิคเข้าให้   อย่างไงก็ฝากเตือนเพื่อนๆ จะโหลดอะไรก็ระวังหน่อยนะครับ


สำหรับเรื่องในวันนี้เป็นไวโอลินเก่าอีกคันหนึ่ง  ที่ทำออกมาได้ดีสวยงามเลือกใช้วัสดุชั้นดี  ลักษณะโดยรวม  ไม้แผ่นหน้าเป็นแบบ 2 ชิ้นต่อกัน ลายเส้นละเอียดตรงเป็นแนว  แผ่นหลังเป็นเมเปิลชิ้นเดียวลายไม้สวยงาม คิดว่าคงผ่านการใช้งานมามากวานิชบางจุดถูกใช้งานจนสึกไปถึงเนื้อไม้ รูปทรงไวโอลินเป็นแบบยอดนิยม  

อาการที่มาคือปัญหาแผ่นหน้ามีรอยแตก  กาวเสื่อมสภาพที่สะพานนิ้ว  ส่วนคอถูกดึงจนคอไวโอลินโค้ง กลายเป็นไวโอลินคอตก 





กาวสะพานนิ้วเสื่อม


วานิชสึกบางจนเห็นเนื้อไม้

รอยแตกใหญ่

รอยแตกเล็ก




ใต้คอปักเดือยไว้


แผ่นหลังชิ้นเดียวลายสวย




ปุ่มคอทรงกว้าง ป้าน


รอยแหว่งจากการใช้งาน  เป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้


รอยที่เกิดจากตัวปรับเสียง fine tuner



เปิดดูภายใน

ประเด็นหลักของผมในการตัดสินไวโอลินซักคันดีจริงไม่ดีจริง  ก็ต้องดูจากความพิถีพิถันของช่างนอกจากภายนอกแล้ว  อันนี้ต้องดูรายละเอียดกันถึงภายใน   พอเปิดออกมาแล้วต้องยอมรับว่าเขาทำมาดี  สวยงาม  เป็นไวโอลินบล็อคเต็ม เบสบาร์ยาว  แผ่นหน้าปรับแต่งมาอย่างละเอียด  แต่ที่แน่ๆ คือเขาผ่านการเปิดซ่อมมาแล้ว  แต่ไม่ได้บันทึกไว้ว่าใครเป็นคนซ่อมและซ่อมมาเมื่อไหร่  







บล็อคเต็ม ไลน์นิ่งสวย


เดือยที่ค้างอยู่


รอยเบสบาร์เดิม  มีการเลื่อนตำแหน่งติดตั้ง


มีรอยเลื่อนของป้ายอยู่


แต่ท่านจะเป็นใครผมก็ขอยกย่อง ชื่นชม
(4 December 1758, Stuttgart – 14 August 1824, Paris)

 Born 1758 Stuttgart Germany, died 1824 Paris France. Son and pupil of François Lupot (I) in Stuttgart. Active from c.1770. Began supplying work to François Pique in Paris c.1792, before moving there himself in 1794. By 1810 established as the leading maker of the city, and possibly the whole of Europe, within his lifetime. His precise work in the classical style of Stradivari was highly influential, when most pre-revolutionary luthiers adhered to Amatisé or Stainer patterns. Early work from Stuttgart 

ภาพจาก  http://commons.wikimedia.org/wiki/File:Luthier-Nicolas-Lupot.jpg


รอยแตกใหญ่  ที่ลามออกไป


รอยแตกเล็กด้านใน




รอยขีด เป็นเส้นอ้างอิงแนวกลาง






Reassemble





















1 สิงหาคม 2557

ไวโอลิน...แผ่นหน้าชิ้นเดียว

One piece top Violin

อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ฟังคุ้นหูมากนัก สำหรับหัวข้อที่ผมจะว่ากันในวันนี้   ปกติโดยทั่วไปเราจะคุ้นกับคำว่า ไวโอลินแผ่นหลังชิ้นเดียวมากกว่า  One piece back Violin    ไวโอลินแผ่นหลังชิ้นเดียวก็มีน้อยและหายากอยู่แล้ว เป็นกลุ่มไวโอลินที่ต้องได้รับการคัดสรรมาเป็นพิเศษ  ที่เราพบเห็นจะเป็นประเภทไม้ 2 ชิ้นต่อกัน 

ไวโอลินที่จะพูดถึงวันนี้ ผมว่ามันมีความพิเศษแตกต่างกว่าที่เคยพบมา  คุณสมบัติในหลายจุดคงจะยากได้ยากในปัจจุบัน  ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อน  หรืออาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีไวโอลินที่ว่านี้อยู่ด้วย  ผมเองไม่แน่ใจว่าคุณแซมจะรู้ไหมว่าไวโอลินคันนี้เขาไม่ธรรมดา.....



ลักษณะทั่วไป แรกเห็นคือสีวานิชของเขาสีโทนเข้มดำอมน้ำตาลถึงน้ำตาลไหม้  ออกด่างๆ เหมือนเมฆยามฝนฟ้าคะนอง แผ่นหลังเป็นไม้ชิ้นเดียว  แผ่นหน้าก็เป็นไม้ชิ้นเดียว  แต่ด้วยความที่วานิชที่คล้ำมากจึงทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจนนัก  ผมมองดูตอนแรกไม่เห็นรอยต่อก็ยังไม่แน่ใจนักเพราะอาจจะทำมาเนียนมาก หรือสีทีเข้มมากก็เป็นได้






อาการที่เขามามีแตกหลุดโครงข้างบริเวณคอ พบรอบแตกที่ขอบแผ่นหน้าแต่ว่า purfling มาช่วยรองรับเป็นกำแพงกั้นไว้  ทำให้ไม่แตกร้าวลึกเข้ามาด้านใน   Rib แอ่นเสียรูปไปเล็กน้อย คงผ่านกาลเวลาและเรื่องราวมาพอสมควร

อีกจุดก็คือปัญหาคอตก องศามาต่ำมากกว่าที่จะเป็น  ต้องยกคอและปรับองศาใหม่ ในส่วนของโพรงลูกบิด รูลูกบิดได้ทำการฟิตรูลูกบิดมาแล้ว  แต่ยังมีปัญหาตามมาคือรูลูกบิดของสายA แตกทั้งสองด้าน แม้จะเคยฟิตมาแล้วแต่ก็เอาไม่อยู่  เห็นรอยแตกชัดเจนจากด้านในเลยทีเดียว






เขาบอกว่า...อย่าดูคนแต่ภายนอก  แต่ให้ดูลึกถึงใจเขา..  มันทำให้ผมคิดว่าการดูไวโอลินคงจะเหมือนกัน    ไม่สามารถตัดสินอะไรได้จากแค่เพียงลักษณะภายนอกแค่นั้น  จากที่ผ่านมาไวโอลินหลายตัวภายนอกดูดีมาก แต่พอได้เห็นด้านในทำให้ผมผิดหวังไปก็เยอะ  หรือจะพูดตามสำนวนไทยก็ต้องบอกว่า  ข้างนอกสุกใส  แต่ข้างในเป็นโพรง  ผมว่าคำนี้เข้าท่าดี  

สำหรับไวโอลินคันนี้  ส่วนตัวผมชื่นชอบเขามาก พอเปิดเขาออกมาเราจะเห็นรายละเอียดทุกอย่างชัดเจน  ในฐานะของคนที่ทำไวโอลินเช่นกันผมประทับใจในสิ่งที่เห็น  งานเขาดีละเอียดประณีต  เป็นไวโอลินบล็อคเต็ม ( Full Block)   แผ่นหน้าและหลังต้องบอกว่าเขาปรับจูนมาอย่างดี  ป้ายที่เห็นจะดูจืดจางไปบ้าง  แต่ไม่ว่าท่านจะเป็นใคร...ผมต้องขอให้เครดิตเขาจริงๆ 
    







 แผ่นหน้าชิ้นเดียว


แผ่นหน้าของไวโอลินเป็นสปรูซ  การที่จะเลือกสปรูซชิ้นเดียวมาทำมันต้องคัดสรรไม้มากทีเดียว นอกจากไม้ชิ้นนั้นต้องมีขนาดใหญ่แล้ว  เส้นลายไม้ก็มีส่วนสำคัญมากต้องมีสายเส้นที่ขนาดเล็กใกล้เคียงกันไม่ห่างจนเกินไป เส้นตรงเป็นแนวสวยงาม  ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องเป็นอะไรที่ยากกว่า ใช้ไม้ 2 ชิ้นต่อกันแน่นอน  

แต่ไวโอลินคันนี้ได้คุณสมบัติตามที่ผมว่ามา  ต้องลองสังเกตุดูตามภาพนะครับ  บริเวณตรงกลางจะไม่เห็นรอยต่อ จะเห็นได้ชัดจากแผ่นไม้ด้านใน





ด้านในแผ่นหน้าของไวโอลิน  ตรงกลางจะไม่เห็นรอยต่อ  ริมด้านซ้ายลายเส้นจะเล็กละเอียด และค่อยๆ ไล่ระดับใหญ่ขึ้นมาตรงกลางและด้านขวาจะใหญ่ที่สุด ไล่เรียงขึ้นมาอย่างงดงาม  







แผ่นหน้าปรับแต่งมาอย่างดี เบสบาร์ทำออกมาได้สวยงาม เส้นไลน์นิ่งฝังเข้าไปในตัวบล็อค  แผ่นโครงตัวล่างเป็นชิ้นเดียวไร้รอยต่อ แม้แต่ตัวอานม้า ( Saddle) ก็ทำมาในลักษณะที่พิเศษ เรียกว่าจัดเต็มจริงๆ งานนี้ผมต้องพยายามรักษา หรือเก็บรายละเอียดเก่าๆ ใว้  เรียกว่าทำออกมาแล้วให้สภาพเหมือนเดิมที่สุด







 Pegbox  repair

จากนี้ไปก็เป็นงานซ่อม  ซึ่งช่างแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่ต่างกัน  อยู่ที่การวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละคน ไม่มีคำว่าผิดหรือถูกเสมอไป  ตามที่ผมได้ว่าไว้ในเรื่องที่แล้ว  คงต้องมองที่เป้าหมายหรือผลลัพท์ที่ออกมาเป็นหลักแหละครับ  











ปรับคอแล้วก็ต้องเปลี่ยนหย่องด้วย

หย่องเดิมจะใช้ไม่ได้แล้ว