Martinus Mathias Fichtl
ไวโอลินตัวนี้ถือว่าเป็นไวโอลินที่ผมชอบใจมากตัวหนึ่ง บุคคลิคเขาแปลกไปจากที่คุ้นเคย ที่ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแบบ Strad เรียกว่าแบบยอดนิยม พอมาเจอไวโอลินที่ตัวนี้เข้าก็ชอบใจ ก็จะนำมาฝากให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน
พอเห็นเขาปั๊บ ถ้าเป็นภาษาวัยรุ่นก็ต้องบอกว่า โดนนะ ประมาณนี้ บุคคลิกของไวโอลินเก่าคัน ถ้าเทียบกับคนก็ประมาณแบบผู้ชายมาดแมน ไหล่ตั้งหลังตรง คิ้วเข้มตาโต ห้าวๆ หน่อย
ตอนที่มาหาผมก็มีอาการแตกที่แผ่นหน้า เหนือช่องเสียงยาวขึ้นไปประมาณ 4 นิ้ว ซึ่งผมคิดว่าเขาซ่อมมาแล้ว แต่สัมผัสแล้วยังไม่เนียน ดูแล้วยังแข็งแรงอยู่ งานนี้ผมจะยังไม่ทำอะไรมากก็ขัดแต่งให้ดูเรียบเนียนขึ้น รอให้มีอาการแตกที่ชัดเจน มากขึ้นค่อยมาจัดซ่อมใหญ่อีกทีจะดีกว่า
The Brompton’s Book of Violin & Bow Makers
Author: John Dilworth
FICHTL, Martin Mathias (II) Born 1682, died 1768 Vienna Austria. Son and pupil of Martin Mathias Fichtl (I), above. Among the best Viennese makers of this period. Very disciplined Stainer model, beautifully finished and lacking the exaggerated features of many Stainer imitations. Soundholes quite widely spaced but expertly cut. Very fine red-brown varnish laid over a golden ground, although in some instances the varnish has darkened with oxidization over time. Martinus Mathias Fichtl / fec. Vienna. 1736 Martinus Fichtl / fecit Viennae. 1739 [Hamma]
ป้ายติดที่บล็อคตัวบน |
เท่าที่ผมส่องดูถือว่าเป็นงานที่ดีครับ ปรับมาเรีียบเนียนเรียบร้อยดี ไม้ทีี่เลือกใช้คัดสรรมาอย่างดี แผ่นหน้าเป็นไม้สปรูซ 2 ชิ้น หลังเป็นไม้เมเปิลลายเสือ ชิ้นเดียวสวยงามแจ่มแจ่ม ขอบฝัง purfling สองชั้น ช่องเสียงที่อ่อนช้อย ที่สำคัญคือหัวไวโอลินเป็นแบบแกะเพียง 2 ชั้นเท่านั้น โดยปกติจะเห็นเป็นแบบ 3 ชั้นทั้งนั้น แบบนี้ไม่ค่อยได้เห็นนัก นอกจากแบบ 2 ชั้นแล้วก็จะมีแบบ 4 ชั้นด้วย (ถ้าจะทำมากชั้นกว่านี้ก็ได้) ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ช่างเขาอยากจะทำจะไรให้แปลกไปจากเดิม กลายเป็นจุดเด่นของไวโอลินตัวนั้นหรือช่างคนนั้น
ช่องเสียงที่สวยและอ่อนช้อย |
ไวโอลินในยุคก่อนในความคิดเห็นผม มันมีรูปแบบหรือรายละเอียดที่ช่างแต่ละคนพยายามสร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อนความเป็นตัวของตัวเองเยอะ แต่ทำไมเดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยได้เห็นล่ะ ......
ส่วนหนึ่งก็คงเป็นเรื่องของการตลาด ความนิยมของผู้ใช้งานกฏของการคัดสรร เทคโนโลยีเครื่องจักรที่เข้ามาทดแทน จะทำสินค้าออกมาก็ต้องเลือกในแบบที่มีชื่อเสียง สวยงามตอบสนองความต้องการของลูกค้า แบบไหนที่ไม่ค่อยนิยมก็จะหายไปตามกาลเวลา
ส่วนที่เหลืออยุ่ก็เลยเป็นของแปลกของสะสม สำหรับคนที่ชอบงานเก่า เพราะสิ่งเหล่านี้ยังคงคุณค่า มีเรื่องราวให้ศึกษา ถ้าจะพูดให้หนักๆ หน่อย ก็ต้องบอกว่ามันมีจิตวิญญาญมากกว่าของที่ทำด้วยเครื่องจักร ที่ทำออกมาได้คราวละมากๆ เหมือนๆ กันไปหมด......
ด้านข้างดูแล้วเหมือนปกติทั่วไป |
หัวเขาเหมือนคนตาโปน |
สาย E แบบห่วง |
ด้านปลายของสาย E |
Double Purfling |
ทรงโค้งที่มองดูป้านๆ |
เทียบกับทรงยอดนิยม |
ภาพถ่ายสวยมากเลยครับ
ตอบลบ