เรื่องราวของแรงบันดาลใจ ความปรารถณา....ที่จะได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก แม้เป็นเรื่องราวที่ยากลำบาก แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าความอดทน ความเพียรพยายามของตัวเราเอง
27 มกราคม 2555
สิ่วแกะสลัก
เครื่องมือชิ้นต่อไปสำหรับงานสร้างไวโอลิน ก็คงจะรู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วเรียกว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานอีกชิ้นก็ว่าได้ นั่นก็คือสิ่ว สิ่วที่ใช้ในงานไวโอลิน ก็จะมีทั้งสิ่วแกะสลัก และสิ่วปากบาง ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน ที่สำคัญคือสิ่วที่สองมีหลายขนาดมาก อย่างในภาพเป็นสิ่วล่าสุดที่ผมเพียรพยายามค้นหามานาน เป็นชุดสิ่วที่มีทั้งสิ่วแกะสลักและสิ่วปากบางรวมอยู่ในชุดเดียวกัน สิ่วยาวประมาณ 12 นิ้ว มีหลายขนาดซึ่งจะทำให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ด้ามเป็นไม้ เหมาะมือดี เนื้อเหล็กคุณภาพดี
ข้อสำคัญประการหนึ่งสำหรับช่างไม้ คือเรื่องของการลับคม อย่างสิ่วชุดที่พึ่งได้มาใหม่นี้ยังไม่ได้ลับคม เป็นทักษะที่จำเป็นและต้องฝึกฝน มีผลต่อคุณภาพของงาน ไม่ว่าจะเป็นใบกบ มีด หรือสิ่วต้องคมอยู่เสมอ
สิ่วแกะสลักชุดก่อนหน้าที่ใช้อยู่ เป็นสิ่วชุดเล็ก ยาวประมาณ 6 นิ้ว มียี่ห้อติดอยู่ข้างๆ ด้วย
สิ่วแกะสลักชุดนี้สำหรับนักเรียน ไว้ฝึกหัดวิชาการแกะสลัก ได้มาฟรีเพราะไม่มีใครใช้แล้ว แต่พอได้มาก็ไม่ได้ใช้เช่นกัน
สำหรับ 2 อันนี้ ก็ใข้ได้ดีเหมือนกัน ราคาไม่แพงด้วย ด้ามเป็นไม้จับถนัดมือดี
การเลือกซื้อสิ่ว หรือเครืองมือต่างๆ ก็ควรเลือกชื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี ซึ่งก็คงต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องของราคาด้วยเช่นกัน ดีก็ต้องราคาสูงเป็นเรื่องธรรมดา ดีในระดับราคาที่สมเหตุผลก็มี หลายๆ ครั้งผมมักเลือกซื้อเครื่องมือเก่า (hand tools) ยี่ห้อที่มีชื่อเสียง ผลิตในประเทศทางฝั่งตะวันตก ซึ่งก็ต้องเลือกดูแล้วมาบูรณะเอาหน่อย ดีกว่าของใหม่ราคาถูกที่มีขายกันดาษดื่น ซื้อมาแล้วเสียดายเงิน
22 มกราคม 2555
กบล้าง
เครื่องมือช่างไม้พื้นฐานสิ่งแรกที่ต้องมีก็ต้องเป็นกบไสไม้ ซึ่งกบไสไม้ก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด หลายแบบ และหลายขนาดแล้วแต่วัตถุประสงค์การใช้งาน พูดถึงกบไสไม้แล้วทำให้ผมนึกตัวเองในตอนที่เริ่มเข้ามาทำไวโอลินตัวแรก ไม่มีพื้นฐานงานไม้เลยแม้ซักนิดเดียว ไปที่ร้านตั้งใจจะไปซื้อกบไสไม้ มีคนแนะนำว่าให้ซื้อกบตัวแรกต้องเป็นกบล้าง แต่มารู้ทีหลังว่าเจ้าตัวที่ซื้อมานั้นเป็นกบผิว สุดท้ายต้องกลับไปขอเปลี่ยนเป็นกบล้าง แต่ก็ยังเจอปัญหาไสไม่เป็น ไสแล้วทำไมติดตลอด ขี้กบก็ไม่ออก ทำไมมันยากอย่างนี้ แล้วจะถอดใบกบอย่างไงไม่เป็นอะไรเลยซักอย่าง สุดท้ายแล้วกบไสไม้ตัวนี้ถูกเก็บเอาไว้เฉยๆ เป็นเวลากว่า 6 เดือน
กบล้างเป็นกบที่ใช้สำหรับปรับผิวหน้าไม้ให้เรียบในอันดับแรก พูดง่ายๆ ว่าถ้าจะไสไม้ให้เรียบกบตัวแรกที่จะใช้ก็ต้องเป็นกบล้าง เราจะไม่หยิบกบผิวมาไส เพราะจะผิดลำดับการใช้เครื่องมือ กบล้างเป็นกบที่มีมุมอยู่ที่ประมาณ 45-52 องศา ส่วนกบผิวจะมีองศาสูงกว่า 52 องศาขึ้นไป ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครเป็นคนทำ ไม้ที่ใช้ทำกบในบ้านเราก็จะเป็นไม้ชิงชัน ไม้พยูง ไม้เขลง(ต้นหยี ผลนำไปทำลูกหยี) ซึ่งเป็นไม้เนื้อแขง แกร่ง เหนียว แต่ที่ผมอยากได้อีกอย่างคือกบที่ทำจากไม้มะเกลือ ซึ่งในบ้านเราผมยังไม่เคยเห็น
กบล้างมีหลายขนาด ส่วนใหญ่จะวัดจากความยาว มีตั้งแต่ 6 นิัว ไปจนถึง 26 นิ้ว ยาวสุดที่เคยเห็นก็ 50 นิ้ว (เอาไว้ลงกินเนสบุ๊ค) ใบกบจะมีขนาด 1 3/4 นิ้ว เป็นส่วนใหญ่ การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับงาน ถ้าไสไม้เล็กๆ สั้นๆ ก็ใช้ตัวเล็ก สำหรับการสร้างไวโอลินกบที่ใช้ก็อยู่ประมาณ 6-12 นิ้วก็เพียงพอแล้ว อย่างในภาพเป็นกบล้างเก่าที่ผมพึ่งจะได้มาเมื่อสัปดาห์ก่อนจากตลาดนัดวันอาทิตย์ เป็นไม้ชิงชัน ขนาด 10 นิ้ว
ใบกบเก่าตราตา ของเยอรมันนี ขนาด 1 3/4 นิ้ว จะสังเกตุเห็นว่าใบกบจะมีฝาประกับประกบอยู่ ซึ่งถ้าเป็นกบผิวจะไม่มี ตามตำราเขาว่าช่วยทำให้ขี้กบออกได้ดี
ท้องกบซึ่งผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก ไสอยู่เฉพาะจุดจนท้องกบเว้าลงไป ไม่เรียบ
ลองใช้ฉากลองทาบวัดดูจะเห็นได้ชัดว่าท้องเว้าลงไปขนาดไหน
เมื่อถอดออกมากบล้างจะมีชิ้นส่วนอยู่อย่างในภาพ ตัวกบ ลิ่ม มือจับ 3 ชิ้นนี้เป็นไม้ชิงชันทั้งหมด ใบกบ ฝาประกับ น็อตยึดฝาประกับ แหวนรอง (สภาพใหม่ มีก็ดีไม่มีก็ได้) การถอดใบกบจะใช้ฆ้อนเคาะที่บริเวณท้ายกบ แรงสะเทือนจะทำใบลิ่มคลายตัวออก จึงสามารถดึงใบกบออกได้
ฆ้อนพลาสติกหรือฆ้อนไม้จะดีกว่า ถ้าเป็นฆ้อนเหล็กท้ายกบจะยุบ
ขัดสนิมที่ใบกบ และฝาประกับออก สภาพดูดีขึ้น
ไม้ลิ่ม ส่วนที่ถูกตอกมายับเยินก็ตัดออกบ้าง
ขัดแต่งตัวกบโดยเฉพาะท้องกบให้เรียบได้ระนาบ บนแผ่นกระดาษทรายเรียบ
ช่องปากด้านบน ในส่วนที่แหว่งไปเดี๋ยวเราจะเพลาะเสริมเติมไม้ให้เต็ม ด้วไม้ชิงชันเช่นกัน แต่ก่อนอื่นต้องปรับแต่งให้เรียบก่อนอย่างในภาพที่เห็น
เสริมไม้เข้าไป อย่างที่เห็นด้วยกาวสำหรับงานไม้ หรือกาวร้อนก็ได้
ขัดแต่งให้เรียบร้อย
ท้องกบที่ปรับให้มีสภาพเรียบแล้ว
หลังจากติดตั้งใบกบแล้ว ปากของกบอาจจะมีช่องกว้างไปสักนิด และไม่ได้เสริมเหล็กแต่ก็ถือว่าใช้ได้ใม่มีปัญหาแต่อย่างใด
เมื่อแก้ไขแต่ละส่วนเรียบร้อยก็ถึงเวลาประกอบ ได้เป็นกบล้างที่มีสภาพดีไม้ดีดี ไว้ใช้ 1 ตัว ครับ
17 มกราคม 2555
The Everest
ตั้งชื่อหัวข้อไม่ใช่เป็นเรื่องของภูเขาแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของไวโอลิน 2 ตัวล่าสุดที่พึ่งจะแล้วเสร็จออกมา แต่ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเลยตั้งชื่อไว้คร่าวๆ ก่อน โดยอาศัยลักษณะของไม้แผ่นหลัง โดยรวมของไวโอลินคันนี้เป็นขนาด 4/4 แผ่นหน้าสร้างจากไม้สปรูซ 2 ชิ้น ด้านข้าง คอ จากไม้เมเปิล และแผ่นหลังเป็นไม้เมเปิลชิ้นเดียว
ด้วยลักษณะลายของแผ่นหลังวนเป็นก้นหอยคล้ายเป็นภูเขาเลยตั้งชื่อเป็น Everest
วานิช เป็นออยวานิช สีออกน้ำตาลอ่อน เหลือบเข้ม
ฝัง purfling ซึ่งมีลักษณะพิเศษเป็นโค้งรูปหัวใจ ฝังหมุดไม้มะเกลือ ( ebony ) ที่ปุ่มคอเพื่อความแข็งแรงและเพิ่มความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
ส่วนหัวดูจากด้านข้างจะมีลักษณะเหมือนกับไวโอลินทั่วไป
แต่ถ้ามองดูจากด้านหลังก็จะเป็นแบบเปลือยสามารถมองเห็นการร้อยสายได้อย่างชัดเจน ตัวนี้ถือเป็นตัวที่2 ที่สร้างขึ้นมาลักษณะนี้
ฟิงเกอร์บอร์ดเป็นไม้ ebony ลูกบิด รองคาง หางปลา เป็นไม้ rosewood
13 มกราคม 2555
Violin tools
หากถามว่าถ้าจะทำไวโอลินซักคัน จะต้องเริ่มต้นจากอะไรก่อน ? คำตอบก็คงจะมีได้หลายอย่างเหลือเกินแล้วแต่ว่าใครจะเป็นคนตอบ แต่อย่างหนึ่งที่จะต้องมีสำหรับผู้ที่ตัดสินใจแน่วแน่แล้ว ก็คงต้องมีเครื่องมือ ต้องถือว่าการทำไวโอลินนั้นเป็นงานช่างไม้อย่างหนึ่ง ดังนั้นเครื่องมือหลายๆ อย่างก็เป็นเครื่องที่ใช้ทำงานไม้ทั่วไป เช่น เลื่อย สิ่ว ฆ้อน มีด ฉาก สว่าน แต่ก็จะมีเครื่องมือหลายๆ อย่างอีกเช่นกันที่เป็นเครื่องมือเฉพาะเจาะจงซึ่งอาจจะไม่เคยได้เห็นหรือคุ้นเคยนัก วันนี้จึงอยากจะนำภาพเครื่องมือสำหรับสร้างไวโอลินในยุคก่อนเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว มาให้ชื่นชมกัน ต้องถือว่าในยุคนี้ได้เปรียบกว่าสมัยก่อนมาก เพราะปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ มากมายมาช่วยทุ่นแรง ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเราก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ ในตอนต่อๆไปจะแนะนำให้ได้รู้จักเครื่องมือต่างๆ สำหรับการสร้างไวโอลินในแบบ Hand tools
11 มกราคม 2555
ซ่อมปรับปรุงพี่เช็ค
หลังจากที่ทำการเปิดฝาแผ่นหลังพี่เช็คแล้ว ลองดูภาพโดยรวมอีกครั้ง จะสังเกตุเห็นว่าไวโอลินคันนี้ใส่บล็อคมาไม่ครบ ซึ่งโดยปกติไวโอลินจะมีบล็อคอยู่ทั้งหมด 6 ชิ้นด้วยกัน ทำหน้าที่ยึดโครงข้าง (Rib) ให้มีรูปทรงเป็นไวโอลิน เป็นพื่้นที่สำหรับติดแผ่นหน้าและหลัง
นอกจากนั้นตัวใหญ่ที่ด้านบนยังทำหน้าที่เป็นฐานยึดให้กับคอไวโอลิน ตัวใหญ่ด้านล่างจะใช้เจาะรูเพื่อใส่ปุ่มท้าย (End button) อีก4 ชิ้นจะอยู่ที่บริเวณโค้งตัว C ( C-bout ) ข้างละ 2 ชิ้น
บล็อคส่วนที่หายไปอยู่บริเวณโค้งตัว C ใส่มาแค่ชิ้นเดียว ตามที่เห็นในภาพ แต่ก็ยังคงสภาพมาได้กว่า 50 ปี ข้อเสียคือโครงข้างมีโอกาสหลุดได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ข้อดีคือทำให้ไวโอลินเบาขึ้น
เห็นภาพใกล้ก็ดูไม่ค่อยเหมือนบล็อคเท่าไหร่ลักษณะเหมือนเอาไม้มาช่วยค้ำไว้มากกว่า เบสบาร์เป็นแบบบิวท์อิน อันนี้ผมเรื่ยกเอง คือเป็นชิ้นส่วนเดียวกับไม้แผ่นหน้าใช้สิ่วขุดส่วนอื่นออกไปเหลือไว้เฉพาะที่เป็นเบสบาร์ ด้านในแผ่นหน้าไม่เรียบร้อยใช้สิ่วขุดไว้หยาบๆ ความหนาบางไม่สมำเสมอสูงๆ ต่ำๆการแก้ไขพี่เช็คครั้งนี้ใช้หลักการที่ว่าจะคงรักษาลักษณะพื้นฐานตามที่ผู้สร้างเดิมเคยทำไว้ แผ่นหลังแยกออกเป็น 2 ส่วน สิ่งแรกที่ทำจึงต้องต่อกันให้เป็นแผ่นเดียวกันก่อน
จากนั้นก็ขูดวานิชเก่าออกให้หมด และเอาเนื่้อไม้บางส่วนออก สิ่งที่ชอบคือเขาฝัง purfling ไว้ที่ขอบด้วย พูดถึง purfling มีไว้เพื่อทำให้สวยงามขึ้น แต่หน้าที่หลักเป็นเหมือนกำแพงกั้นไม่ให้เกิดความเสียหายเวลากระทบกระแทกที่ขอบไม่ให้ลุกลามเข้าไปด้านใน
แผ่นหลังด้านในทำมาเรียบดี (ต้องเรียบเพราะมันสามารถมองเห็นจากช่องเสียงได้ ไม่งั้นขายไม่ออกแน่) แต่ยังหนาเกินไปจึงต้องปรับให้บางลง
เสร็จเรียบร้อย พร้อมการปรับความหนาบางให้ถูกต้อง ตัวสีฟ้าเป็นเครื่องวัดความหนาครับ จำเป็นต้องมีเป็นอย่างมาก
เบสบาร์แบบบิวท์อินของแผ่นหน้า อย่างไงก็ขอเอาออกแล้วค่อยสร้างใหม่
ปุ่มคอที่มีปัญหาควรเอาส่วนที่อุดโป๊วออก แล้วค่อยเสริมไม้จริงเข้าไป จะทำให้มีกำลังในการยึดจับที่ดีกว่า
ขูดขัดคราบกาว และปรับให้ผิวหน้าเรียบเตรียมพร้อมสำหรับการปิดแผ่นหลังเข้าที่
ปิดแผ่นหลังเข้าที่ โดยใช้อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเอง แฮะ ๆ มันคล้ายอะไรนะ
คราวนี้มาจัดการกับแผ่นหน้า ทำการเปิดออกมาก่อน สำหรับแผ่นหน้านี้เป็นไม้สนสปรูซ 2 ชิ้นต่อกัน เส้นละเอียดไล่ไปตั้งแต่เส้นถี่เล็กไปจนขนาดกลางตรง สวยงามดี
ลองวัดความหนาดูก่อน ประมาณเกือบ 7 ม.ม. ผมว่ามันหนาเกินไปตัวเลขควรจะอยู่ประมาณ 3 ม.ม. แล้วไล่ไปที่ส่วนขอบประมาณ 2-2.5 ม.ม. จะทำให้ไวโอลินมีคุณภาพเสียงที่ดี
ใช้กบตัวเล็กไสไม้ให้เรียบและบางลงตามค่าที่ต้องการ เน้นการไสที่ภายในเพื่อไม่ให้เสียทรงด้านนอก
จากนั้นก็มาจัดการด้านนอกแบบเดียวกับที่ทำแผ่นหลัง จนมีสภาพอย่างที่เห็น
จากนั้นก็ถึงช่วงสำคัญก็คือการทำเบสบาร์ขึ้นใหม่ เลือกไม้ วัดระยะจัดแนวของการติดตั้ง ขั้นตอนนี้ยากเหมือนกันเพราะต้องทำให้เบสบาร์ติดเรียบเนียนเป็นชิ้นเดียวกับแผ่นหน้า
ไสปรับให้ได้รูปทรงและสัดส่วนที่ถูกต้อง ค่อยๆ ไสไปเรื่อย ๆ คอยเช็คความสูงความหนาตลอด
สลักหลังไว้ซักหน่อย บันทึกเป็นประวัติ
สลักไว้ที่แผ่นหลังด้วย ส่วนนี้จะสามารถมองเห็นได้จากช่องเสียงด้านหน้า
ปุ่มคอที่ค้างไว้ในตอนแรก จะเสริมไม้เมเปิลลงไป
ฝังเดีอยไม้ลงไป เพื่อให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นและเข้าไปแทนที่รูจากรอยตะปู
ประกอบแผ่นหน้าเข้าที่ให้เรียบร้อย
ประกอบส่วนต่างๆ เข้าไป แล้วก็เสร็จเรียบร้อยออกมา
นอกจากนั้นตัวใหญ่ที่ด้านบนยังทำหน้าที่เป็นฐานยึดให้กับคอไวโอลิน ตัวใหญ่ด้านล่างจะใช้เจาะรูเพื่อใส่ปุ่มท้าย (End button) อีก4 ชิ้นจะอยู่ที่บริเวณโค้งตัว C ( C-bout ) ข้างละ 2 ชิ้น
บล็อคส่วนที่หายไปอยู่บริเวณโค้งตัว C ใส่มาแค่ชิ้นเดียว ตามที่เห็นในภาพ แต่ก็ยังคงสภาพมาได้กว่า 50 ปี ข้อเสียคือโครงข้างมีโอกาสหลุดได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ข้อดีคือทำให้ไวโอลินเบาขึ้น
เห็นภาพใกล้ก็ดูไม่ค่อยเหมือนบล็อคเท่าไหร่ลักษณะเหมือนเอาไม้มาช่วยค้ำไว้มากกว่า เบสบาร์เป็นแบบบิวท์อิน อันนี้ผมเรื่ยกเอง คือเป็นชิ้นส่วนเดียวกับไม้แผ่นหน้าใช้สิ่วขุดส่วนอื่นออกไปเหลือไว้เฉพาะที่เป็นเบสบาร์ ด้านในแผ่นหน้าไม่เรียบร้อยใช้สิ่วขุดไว้หยาบๆ ความหนาบางไม่สมำเสมอสูงๆ ต่ำๆการแก้ไขพี่เช็คครั้งนี้ใช้หลักการที่ว่าจะคงรักษาลักษณะพื้นฐานตามที่ผู้สร้างเดิมเคยทำไว้ แผ่นหลังแยกออกเป็น 2 ส่วน สิ่งแรกที่ทำจึงต้องต่อกันให้เป็นแผ่นเดียวกันก่อน
จากนั้นก็ขูดวานิชเก่าออกให้หมด และเอาเนื่้อไม้บางส่วนออก สิ่งที่ชอบคือเขาฝัง purfling ไว้ที่ขอบด้วย พูดถึง purfling มีไว้เพื่อทำให้สวยงามขึ้น แต่หน้าที่หลักเป็นเหมือนกำแพงกั้นไม่ให้เกิดความเสียหายเวลากระทบกระแทกที่ขอบไม่ให้ลุกลามเข้าไปด้านใน
แผ่นหลังด้านในทำมาเรียบดี (ต้องเรียบเพราะมันสามารถมองเห็นจากช่องเสียงได้ ไม่งั้นขายไม่ออกแน่) แต่ยังหนาเกินไปจึงต้องปรับให้บางลง
เสร็จเรียบร้อย พร้อมการปรับความหนาบางให้ถูกต้อง ตัวสีฟ้าเป็นเครื่องวัดความหนาครับ จำเป็นต้องมีเป็นอย่างมาก
เบสบาร์แบบบิวท์อินของแผ่นหน้า อย่างไงก็ขอเอาออกแล้วค่อยสร้างใหม่
ปุ่มคอที่มีปัญหาควรเอาส่วนที่อุดโป๊วออก แล้วค่อยเสริมไม้จริงเข้าไป จะทำให้มีกำลังในการยึดจับที่ดีกว่า
ขูดขัดคราบกาว และปรับให้ผิวหน้าเรียบเตรียมพร้อมสำหรับการปิดแผ่นหลังเข้าที่
ปิดแผ่นหลังเข้าที่ โดยใช้อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเอง แฮะ ๆ มันคล้ายอะไรนะ
คราวนี้มาจัดการกับแผ่นหน้า ทำการเปิดออกมาก่อน สำหรับแผ่นหน้านี้เป็นไม้สนสปรูซ 2 ชิ้นต่อกัน เส้นละเอียดไล่ไปตั้งแต่เส้นถี่เล็กไปจนขนาดกลางตรง สวยงามดี
ลองวัดความหนาดูก่อน ประมาณเกือบ 7 ม.ม. ผมว่ามันหนาเกินไปตัวเลขควรจะอยู่ประมาณ 3 ม.ม. แล้วไล่ไปที่ส่วนขอบประมาณ 2-2.5 ม.ม. จะทำให้ไวโอลินมีคุณภาพเสียงที่ดี
ใช้กบตัวเล็กไสไม้ให้เรียบและบางลงตามค่าที่ต้องการ เน้นการไสที่ภายในเพื่อไม่ให้เสียทรงด้านนอก
จากนั้นก็มาจัดการด้านนอกแบบเดียวกับที่ทำแผ่นหลัง จนมีสภาพอย่างที่เห็น
จากนั้นก็ถึงช่วงสำคัญก็คือการทำเบสบาร์ขึ้นใหม่ เลือกไม้ วัดระยะจัดแนวของการติดตั้ง ขั้นตอนนี้ยากเหมือนกันเพราะต้องทำให้เบสบาร์ติดเรียบเนียนเป็นชิ้นเดียวกับแผ่นหน้า
ไสปรับให้ได้รูปทรงและสัดส่วนที่ถูกต้อง ค่อยๆ ไสไปเรื่อย ๆ คอยเช็คความสูงความหนาตลอด
สลักหลังไว้ซักหน่อย บันทึกเป็นประวัติ
สลักไว้ที่แผ่นหลังด้วย ส่วนนี้จะสามารถมองเห็นได้จากช่องเสียงด้านหน้า
ปุ่มคอที่ค้างไว้ในตอนแรก จะเสริมไม้เมเปิลลงไป
ฝังเดีอยไม้ลงไป เพื่อให้มีความแข็งแรงยิ่งขึ้นและเข้าไปแทนที่รูจากรอยตะปู
ประกอบแผ่นหน้าเข้าที่ให้เรียบร้อย
ประกอบส่วนต่างๆ เข้าไป แล้วก็เสร็จเรียบร้อยออกมา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)