30 กรกฎาคม 2557

ไวโอลินต่อหัว

ก่อนอื่นก็สวัสดีเพื่อนๆ ที่รักทุกคน  ผมได้ห่างหายไปพอสมควร สาเหตุส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการเจ็บป่วยของร่ายกาย แขนขวามีอาการไหล่ติด ยกไม่ขึ้นเจ็บปวดร้าวไปทั้งสะบัก  ตอนนี้อาการดีขึ้นบ้างแล้ว ตั้งใจว่าจะพยายามรักษาตัวให้หายในสิ้นปีนี้  


วันนี้ผมอยากจะกล่าวถึงไวโอลินตัวหนึ่ง  ตามหัวเรื่องที่ว่าไว้ ไวโอลินต่อหัว  มันมีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วทำไมถึงได้สนใจเรื่องนี้  ก่อนอื่นเรามาดูภาพรวมของไวโอลินคันนี้


ซึ่งเจ้าของคุณแซม  ให้แก้ไขปัญหาแตก ทั้งหน้าทั้งหลัง  เท่าที่ดูเขาผ่านการซ่อมมาแล้วอย่างน้อยก็ 2 ครั้ง  ผมว่าเขาสวยดีแผ่นหลังชิ้นเดียว  มีรอยแตกยาว  แผ่นหน้าแตกค่อนข้างเยอะ 
มีหมุดฝังไว้ด้วย  ช่วยยึดไว้เวลาติดกาว  เปิดแผ่นหน้าขึ้นมาปรากฏว่ามี 3 ป้าย ติดอยู่ที่แผ่นหลัง  บอกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับไวโอลินคันนี้ แผ่นหลังเขาขุดไสมาเรียบร้อยดี  จุดหนึ่งที่สังเกตุได้คือ บล็อคไม่เต็ม ไม่มีบล็อคด้านบนของโค้งตัวซี ซ้ายขวา  มีรอยแตกด้านใน ชมตามภาพแล้วกันนะครับ





บล็อคที่หายไป




Johann_Baptist_von Schweitzer  ภาพจาก Wikipedia





ส่วนของแผ่นหน้าจะมีรอยแตกมากกว่า  ปัจจัยข้อหนึ่งก็คือลักษณะของเนื้อไม้  แผ่นหน้าเป็นไม้สปรูซซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน  และการตัดไม้แบบเค็ก ตามที่ผมเคยเรียก ก็เป็นอีกปัจจัยที่มีโอกาสแตกได้ง่ายกว่าและหนักกว่าแผ่นหลังมาก  ที่สำคัญคือมีรอยแตกร้าวมาถึงเบสบาร์ซึ่งต้องจัดการให้ดี  เนื้อไม้บางส่วนหายไป มีการซ่อมปะไว้  แต่ภายในดูไม่ดีนักเป็นจุดตั้งซาวด์โพสพอดีด้วย 












จัดการซ่อม










ทำไมต้องต่อห้ว

ดูเผินๆ ถ้าไม่ได้สังเกตุอะไรก็ดูเหมือนหัวไวโอลินธรรมดาทั่วไป  แต่มองให้ดีเราจะเห็นบริเวณฐานคอจะมีรอยต่ออยู่  หรือว่าไวโอลินคันนี้มันได้ซ่อมเปลี่ยนหัวมาแล้ว  คุณแซมบอกว่ามันเป็นอย่างนี้ของมัน ไม่ได้ซ่อมอะไร  

แล้วทำไมเขาต้องทำให้มันยุ่งยากอย่างนี้ล่ะ  หลายๆ ท่านคงสงสัย ?



ตัดเป็นแนวฉาก  เพิ่มแรงยึดจับ

จุดที่ตัด ตรงแนวขอบของนัทพอดี

คำตอบในทัศนะของผม  มันเป็นเรื่องของกระบวนการหรือวิธีการการผลิตของช่างซึ่งอาจจะแตกต่างกันไป  ช่างท่านนี้เขาอาจจะรู้สึกว่าขุดโพรงลูกบิด (pegbox) แบบเดิมๆ ที่ใช้สิ่วขุด เซาะ เจาะลงไปมันไม่ถนัด ยุ่งยากก็ลองวิธีอื่นดู เลยตัดมันออกมาเลยจะได้ขุด เจาะ เซาะให้ถนัดมือ แล้วค่อยประกอบเข้าไปใหม่ตามรอยเดิม แค่นี้ก็สิ้นเรื่อง  แต่ก็มีเทคนิคในการตัดด้วย คือตัดเป็นแนวตั้งฉากเพื่อเพิ่มแรงยึดจับ และเพิ่มหน้าสัมผัสการติดกาวด้วย แข็งแรงกว่าการตัดตรงมาก  


บทเรียนทีี่ได้คือ ทำให้รู้ว่าสิ่งต่างๆ ในโลกไม่มีอะไรที่ผิด หรือถูกเสมอไป  สะท้อนได้แม้แต่การทำไวโอลิน ไม่ได้จำเป็นเสมอไปว่า  ต้องทำแบบนี้เท่านั้นถึงจะถูก หรือถ้าไม่ทำแบบนี้คือผิด  .....ช่างท่านนี้เขาคงทำแบบนี้จนคุ้นเคย  จนถนัดกลายเป็นความเชี่ยวชาญ   วิธีแบบเดิมคงกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับเขา....