Jakobus Stainer
ต้องบอกว่าเขาเป็นไวโอลินตัวที่อ้วนที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นที่เดียว มันทำให้ผมนึกย้อนกลับไปก่อนที่จะมาถึงยุคไวโอลินทรงยอดนิยมอย่าง Strad หรือ Guarneri จะเข้ามามีอิทธิพล ช่างฝีมือในยุคก่อนจะพยายามคิดสร้างผลงานที่สะท้อนเอกลักษณ์ของตัวเองออกมา มีทั้งในเรื่องของรูปทรง ช่องเสียง รายละเอียดในส่วนหัว ซึ่งก็มีมากมายหลายแบบ และอย่างหนึ่งของไวโอลินในยุคนั้นจะมีลักษณะค่อนไปทางอ้วน ปล่องค่อนข้างเยอะ จนมาถึงในยุคของ Antonio Stradivari เขาไปปรับเปลี่ยนรูปทรงของไวโอลินให้มีรูปทรงที่งดงาม ลดความปล่องของไวโอลินลงมา ทรงดูเพรียวสวยงามช่องเสียงอ่อนช้อย เรียกได้ว่าเป็นที่ประทับใจของผู้คน ที่สำคัญคือให้น้ำเสียงที่ดีขึ้น และเป็นผลพวงที่สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
แล้วทำไมรูปแบบของ Strad จึงให้ผลลัพท์ที่ดีกว่า ?
สามารถอธิบายได้อย่างนี้ว่า อย่างแรกเลยก็คือว่า ไวโอลินที่ปล่องน้อยทำได้ง่ายกว่าแบบอ้วน อย่างแผ่นหน้าของ Strad ใช้ไม้หนา(ปล่อง) 13 ม.ม ในขณะแบบเดิมต้องใช้ความหนาถึง 15-18 ม.ม. ซึ่งในยุคก่อนเขาใช้เครื่องมือแบบบ้านๆ ไม่ได้มีเครื่องจักรทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน การใช้สิ่วขุด กบไสให้ได้รูปทรงออกมาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยิ่งแบบที่ปล่องๆ ด้วยแล้ว ผมบอกได้เลยว่าเหนื่อยกว่ากันเยอะครับ มิติในทางลึกมันดูลึกล้ำกว่า การปรับความหนาบางก็ทำได้ยากกว่ามาก
ประการต่อมาที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ หลังจากที่เสร็จออกมาเป็นไวโอลินแล้ว การปรับตั้ง (set up) แบบของ strad สามารถทำได้ง่ายกว่า เนียนกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของซาวด์โพส หย่อง หรืออื่นๆ ทำได้ง่ายใช้เวลาไม่นาน ผลที่ได้คือทรงสวย เพรียว แล้วเสียงก็ออกมาดี
ไม่แปลกใจว่าทำไมแบบ Strad เป็นที่นิยม.......
ก็คนเล่นชอบเข้าตากรรมการ เสียงดี ทรงก็สวย ที่สำคัญคือช่างทำไวโอลินก็ชอบด้วยเหมือนกัน ทำง่ายปรับง่าย เหลือไม้เยอะ หมายถึงว่า ถ้าเป็นแบบเดิมไม้ต้นหนึ่งอาจทำได้ 8 ตัว แต่ถ้าแบบ strad ก็อาจจะทำได้ถึง 10 ตัว ลดต้นทุนได้อีก ต้องเรียกว่าเป็นความพอดีที่ลงตัว ถูกใจผู้ซื้อ และถูกใจผู้สร้าง
มาดูไวโอลินคันนึ้ดีกว่า เป็นไวโอลินที่สร้างขึ้นมาในแบบยุคก่อน เขาดูอ้วน..ปล่องมาก สูงชันตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าเป็นภูเขาก็ต้องนึกถึงภูกระดึงเป็นภูเขายอดตัดแบบนั้น วานิชมาในโทนสีเข้มดำ เฉดน้ำตาล แผ่นหลังเป็นไม้เมเปิลชิ้นเดียว
ปัญหาของเขาเป็นผลสืบเนื่องจากความปล่องชันนี่แหละ ส่วนคอ สะพานนิ้วเลยดูเหมือนจะเฉียดจะไปโดนแผ่นหน้า และส่วนของหางปลา ตัวปรับละเอียดแทบจะทำงานไม่ได้เลย เพราะตัวปรับละเอียดไปเบียดชิดแผ่นหน้าเช่นกัน แต่ถ้าไปดูในส่วนของหย่องแล้วก็ดูปกติไม่น่ามีปัญหาอะไร.....แต่มันเป็นปัญหาเมื่อมาอยู่กับไวโอลินคันนี้
ด้านใน ไวโอลินคันนี้ไม่ใช่บล็อคเต็ม เบสบาร์เป็นแบบบิวท์อิน (เป็นชิ้นเดียวกับไม้สปรูซแผ่นหน้า) แผ่นหน้าเป็นไม้ 2 ชิ้น แนวกลางรอยต่อเริ่มเห็นรอยแยก คิดว่าน่าจะเก็บไว้นานแล้ว เพราะมีรูเหมือนโดยแมลงเจาะไชอยู่หลายรู ในส่วนคอเห็นมีคราบกาวซึ่งดูแล้วเป็นกาวสมัยใหม่ พลังช้าง ก็ทำเอาหนักใจพอสมควรเลยทีเดียว
ซ่อมสร้างกันใหม่
|
ทำบล็อคตัวบนใหม่เลยดีกว่า |
|
คราบกาวพลังช้าง |
|
สร้างบล็อคบนตัวใหม่ |
|
ปะเสริมกาว อุดรูทั้งหมดเลย |
|
ปะจัดเต็มเลย |
|
สร้างฐานคอ และปรับองศาให้ใหม่ |
|
บล็อคไม่เต็ม |
|
ปุ่มคอล้ำออก จากการปรับองศาให้สูงขึ้น |
|
ปรับแต่งรอยแตกให้เรียบเนียน |
|
อุดรูปรับสภาพให้ดีขึ้น |
|
ปรับแต่งปุ่มคอให้เรียบเนียน |
|
เปลี่ยนซาวด์โพสใหม่
ซ้ายเป็นอันใหม่
กลางเป็นของเดิม
ขวาของไวโอลินทั้วไป |
|
ต้องเปลี่ยนหย่องใหม่ด้วยให้สูงขึ้น |
และแล้วก็เสร็จออกมา
|
เปรียบเทียบกับไวโอลินทั้วไป |