23 เมษายน 2555

Rib bending Iron

ผมพยายามนึกชื่อที่เป็นภาษาไทย  ไม่รู้ว่าจะใช้ศัพย์อะไรดี  เรียกว่าเครื่องดัดโครงไวโอลินหรือจะเป็นเตารีดดัดไวโอลิน  แต่จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ให้เข้าใจว่ามันทำเพื่อดัดโครงข้าง (Rib) จากแผ่นไม้บางๆ ยาวๆ ตรงๆ ให้มีรูปทรงโค้งๆ เป็นรูปไวโอลิน  เครื่องดนตรีชนิดอื่นที่มีลักษณะแบบเดียวกันนี้ก็ต้องใช้เหมือนกัน เช่น เชลโล่  กีตาร์ แบนโจ


เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นในการทำเครื่องดนตรี  ผมพยายามหาซื้อในหลายๆ ที่ในประเทศไทยเราไม่สามารถหาซื้อได้  และตอนนั้นก็ไม่เข้าใจการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ  ใช้เวลาอยู่นานศึกษาหาวิธีการอยู่นาน  สุดท้ายตัดสินใจลองทำเองเลย  เรียกว่าต้องดิ้นรนกันเลยทีเดียวกว่าจะได้มันมา  


การทำงานของมันเหมือนเตารีดที่เราใช้รีดผ้าธรรมดาๆ นี่เอง  และการดัดโครงข้างก็เหมือนกับการรีดผ้านี่แหละ  เพียงแต่เปลี่ยนจากผ้าเป็นไม้และเตารีดหน้าเรียบๆ เป็นเตารีดแท่งทรงกลมเท่านั้น  อุปกรณ์ที่ผมใช้ก็จะมีดังนี้
1. ฮีตเตอร์แท่ง ผมสั่งทำจากร้านค้าในเน็ต 1 แท่ง
2. เทอร์โมสตรัท สั่งซื้อจากร้านทำฮีตเตอร์
3. แท่งเหล็ก 1 แท่ง หาซื้อจากร้านขายเศษเหล็กหากันอยู่นานก็ได้มาแท่งละ 20 บาท
4. สวิตท์ เปิดปิด ตัวนี้จะไม่ใช้ก็ได้  เอาแบบง่าย ๆ เสียบปลั๊กแล้วใช้งานได้เลยก็ได้
5. ไม้อัด
6. กาวร้อน
7. น็อตสั่นๆ 4 ตัว
8. เหล็กแผ่นบาง 1 แผ่น
9. กระเบื้องฝ้าเพดานแผ่นเรียบ  (เอามาทำอะไรนี่)
10. ปลั๊กตัวผู้และสายไฟ  อันนี้ผมหาจากเครื่องไฟฟ้าเก่าที่เสียแล้ว หาเส้นดีๆ หนาๆ หน่อย

การทำก็เริ่มจากออกแบบกล่องไม้  โดยใช้ไม้อัดตัดออกมาเป็นชิ้น ๆ ให้ได้เป็นกล่องไม้ส่วนฐานกล่องจใหญ่หน่อยจะยาวกว่า ไว้เป็นที่ฐานให้ยึดจับด้วยปากกาติดกับโต๊ะ  ส่วนแท่งเหล็กผมไปจ้างให้ร้านกลึงให้เขาช่วยเจาะเป็นรูขนาดเท่ากับแท่งฮีตเตอร์  ขูดหน้าให้เรียบ และยึดติดเข้ากับแผ่นเหล็กบางให้เป็นฐาน ตรงแผ่นเหล็กต้องเจาะรูให้ฮีตเตอร์ผ่านเข้าไปได้ด้วย


ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างที่เห็นในภาพ  ส่วนที่เห็นเป็นแผ่นข้างล่างไม่ใช่อะไรคือแผ่นกระเบื้องเห็นมีเหลือทิ้งไว้ที่บ้านเลยเอามาใส่กะว่าให้เป็นฉนวนกันร้อน..... (โอ๊ย คิดได้อย่างไงนี่ มันไม่ใช่บ้านนะ แต่ลองดูก็ไม่เสียหายอะไร อิอิ) 


ประกอบเทอร์โมสตรัท และสวิทต์เข้ากับตัวกล่อง ตัวเทอร์โมสตรัทจะเป็นตัวคอยควบคุมอุณหภูมิตามค่าที่ตั้งไว้ปรับได้ 0-200 องศาเซลเซียส เรียกว่าปรับไฟเหมือนการรีดผ้าเลย ร้อนมากร้อนน้อย ปรับให้เข้ากับชนิดของผ้า  อันนี้เหมือนกันเลย ไม้หนาก็ปรับให้ร้อนมากไม้บางก็ร้อนน้อยลงเป็นต้น

จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของร้านซ่อมไฟฟ้าให้เขาบัดกรีเชื่อมต่อสายไฟ ต่อระบบให้เรียบร้อย  เสร็จแล้วก็ประกอบทุกอย่างเข้าที่ แล้วทดสอบปรากฏว่า แท่งเหล็กร้อนมากจนเปลี่ยนสีเลย ผมต้องรีบปิดสวิทต์ แล้วหาสาเหตุ  จนมารู้ว่าต้องเอากระเปาะตรงปลายตัวเทอร์โทสตรัท ไปแนบกับแท่งเหล็กด้วยเพื่อจับค่าอุณหภูมิและให้เทอร์โมสตรัททำหน้าที่ตัดต่อไฟเพื่อรักษาอุณหภูมิตามที่กำหนด  เลยต้องถอดออกมาแก้ไขอีกเล็กน้อยก็เป็นอันสำเร็จ  ปัจจุบันยังใช้งานได้ดีแม้จะเจอพายุฤดูร้อน เจอฝนมาแล้วก็ตาม


การใช้งานอย่างที่บอกไว้ตอนต้นว่าเหมือนการรีดผ้า แต่เปลี่ยนเป็นไม้แทน  เอาไม้แผ่นบางไปจุ่มหรือแช่น้ำ เปิดเครื่องดัดตั้งอุณหภูมิช่วง 120-150 องศา แล้วค่อยๆ ดัดให้ได้รูปทรงที่ต้องการ


เจ้าเครื่องดัดตัวนี้ดูแล้วอาจจะไม่สวยงามมากมายนัก ผมต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะได้มันมา แต่มันก็ทำให้เราภาคภูมิใจที่ได้ทำเองและสามารถใช้งานได้ดี 

7 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมมาก ๆ ครับ...

    ตอบลบ
  2. ดีใจที่ลุงน้ำชาแวะเข้ามาครับ ตอนนี้ผมกำลังทำไวโอลินโครงการ Without sound post No bass bar ทดสอบสมมุติฐานส่วนตัว ผมยังไม่แน่ใจถึงผลที่จะออกมา แต่ก็อยากจะลองทำดูครับ

    ตอบลบ
  3. เป็นความคิดที่ดีมากครับผมชอบครับผมก็อย่ากได้อยู่ครับท่าให้ผมทำผมทำไม่เป็นแน่ๆท่าผมสั่งทำนี้จะได้มั๊ยครับ

    ตอบลบ
  4. ผมอยากจะแนะนำให้ลองทำเองครับ เป็นพื้นฐานเพราะถ้าจะทำไวโอลิน ขั้นตอนดูจะยากกว่าทำเครื่องดัดนี้อีก ที่ผมทำเองก็คือกล่องซึ่งก็ไม่สวยเอาเลย เป็นการทำครั้งแรกจากคนไม่มีพื้นฐานเลย ถ้าตัวนี้เจ๊งผมก็คงดิ้นรนหาซื้อที่ทำสำเร็จแล้วเหมือนกัน

    ตอบลบ
  5. แท่งเหล็กต้องตันไหมครับ

    ตอบลบ
  6. แท่งเหล็กตัน แล้วเจาะรูตามแนวยาวเพื่อใส่แท่งฮีตเตอร์ นำความร้อน

    ตอบลบ
  7. ขอ spec ฮีตเตอร์ที่ใช้ได้ไหมครับ ถ้าได้เวปที่ซื้อ+ราคาจะดีมากเลยครับ
    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    ตอบลบ